เมนู

4. ธรรมที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วย
อำนาจของเหตุปัจจัย

คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม เป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของเหตุ
ปัจจัย.
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ

2. อารัมมณปัจจัย


[643] 1. ธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรมและนีวรณิยธรรม เป็น
ปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรมและนีวรณิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ เพราะปรารภนีวรณธรรมทั้งหลาย นีวรณธรรมทั้งหลาย ย่อม
เกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 2)
เพราะปรารภนีวรณธรรมทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณิยธรรม
แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม ย่อมเกิดขึ้น.
พึงถามถึงมูล. (วาระที่ 3)
เพราะปรารภนีวรณธรรมทั้งหลาย นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์
ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.

4. ธรรมที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นนีวรณิยธรรมแต่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วย
อำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณา
กุศลกรรมนั้น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น
ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู โวทาน ฯลฯ กิเลสที่ละแล้ว ฯลฯ
กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณิย-
ธรรมแต่ไม่ใช่นีวรณธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อม
เพลิดเพลินยิ่ง ฯลฯ โทมนัส ฯลฯ
เห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฯลฯ พึงกระทำตลอดถึงอาวัชชนะ.
5. ธรรมที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรมและนีวรณิยธรรม ด้วยอำนาจ
ของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ

บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม เพราะปรารภจักษุเป็นต้น
นั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
6. ธรรมที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม
เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรมและนีวรณิยธรรม และธรรม
ที่เป็นนีวรณิยธรรมแต่ไม่ใช่นีวรณธรรม ด้วยอำนาจของอารัมมณ-
ปัจจัย

คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ
พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ
ออกจากฌาน ฯลฯ
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นนีวรณิยธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม เพราะปรารภจักษุเป็นต้น
นั้น นีวรณธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น.
ทั้ง 3 วาระ (วาระที่ 7-8-9) แม้นอกนี้ พึงกระทำอย่างนี้.
อธิปติปัจจัย เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย
แม้ปุเรชาตปัจจัย ก็เหมือนกับ อารัมมณปัจจัย
ส่วนในนิสสยปัจจัย ไม่พึงกระทำ โลกุตตระ.
ฯลฯ
พึงให้พิสดารอย่างนี้.
นีวรณทุกะ ฉันใด พึงพิจารณา แล้วกระทำฉันนั้น.
นีวรณนีวรณิยทุกะ จบ

48. นีวรณนีวรณสัมปยุตตทุกะ


ปฏิจจวาระ


อนุโลมนัย


1. เหตุปัจจัย


[644] 1. ธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรม และนีวรณสัมปยุตต-
ธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งนีวณธรรม และนีวรณสัมปยุตตธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจนิวรณ์ อวิชชานิวรณ์ อาศัยกามฉันท-
นิวรณ์.
พึงผูกจักรนัย พึงทำนิวรณ์ทั้งหมด.
2. ธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณ-
ธรรม อาศัยธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรม และนีวรณสัมปยุตตธรรม
เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย

คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยนีวรณธรรมทั้งหลาย.
3. ธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรม และนีวรณสัมปยุตต-
ธรรม และธรรมที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม แต่ไม่ใช่นีวรณธรรม
อาศัยธรรมที่เป็นทั้งนีวรณธรรม และนีวรณสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย